นกกระเรียนไทย
นกกระเรียนไทย หรือ นกกระเรียน (อังกฤษ: Sarus crane)
เป็นนกขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่นกอพยพ พบในบางพื้นที่ของอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ประเทศออสเตรเลีย เป็นนกบินได้ที่สูงที่สุดในโลก เมื่อยืนจะสูงถึง 1.8 ม.[3] สังเกตเห็นได้ง่าย[4] ในพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดโล่ง นกกระเรียนไทยแตกต่างจากนกกระเรียนอื่นในพื้นที่เพราะมีสีเทาทั้งตัวและมีสีแดงที่หัวและบริเวณคอด้านบน
หากินในที่ลุ่มมีน้ำขังบริเวณน้ำตื้น กินราก หัว แมลง
สัตว์น้ำ และ สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กเป็นอาหาร
นกกระเรียนไทยเหมือนกับนกกระเรียนอื่นที่มักมีคู่ตัวเดียวตลอดชีวิต
นกกระเรียนจะปกป้องอาณาเขตและเกี้ยวพาราสีโดยการกางปีก ส่งเสียงร้อง
กระโดดซึ่งดูคล้ายกับการเต้นรำ
ในประเทศอินเดียนกกระเรียนเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ในชีวิตแต่งงาน
เชื่อกันว่าเมื่อคู่ตายนกอีกตัวจะเศร้าโศกจนตรอมใจตายตาม
ฤดูผสมพันธุ์หลักอยู่ในฤดูฝน คู่นกจะสร้างรังเป็น"เกาะ"รูปวงกลมจากกก
อ้อ และ พงหญ้า
มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบสองเมตรและสูงเพียงพอที่จะอยู่เหนือจากน้ำรอบรัง
นกกระเรียนไทยกำลังลดลงอย่างรวดเร็วในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา คาดกันว่าประชากรมีเพียง
10 หรือน้อยกว่า (ประมาณ 2.5%) ของจำนวนที่มีอยู่ในคริสต์ทศวรรษ 1850 ประเทศอินเดียคือแหล่งที่มั่นของนกชนิดนี้
ที่ซึ่งนกเป็นที่เคารพและอาศัยอยู่ในพื้นที่การเกษตรใกล้กับมนุษย์
นกกระเรียนนั้นสูญหายไปจากพื้นที่การกระจายพันธุ์ในหลายๆพื้นที่ในอดีต
นกกระเรียนไทยเป็นนกขนาดใหญ่
มีลำตัวและปีกสีเทา คอตอนบนและหัวเป็นหนังเปลือยสีแดงไม่มีขน
ตรงกระหม่อมเป็นสีเทาหรือเขียว คอยาวเวลาบินคอจะเหยียดตรงไม่เหมือนกับนกกระสาซึ่งจะงอพับไปด้านหลัง
ขนปลายปีกและขนคลุมขนปลายปีกสีดำ ขนคลุมขนปีกด้านล่างสีเทา ขนโคนปีกสีขาว
ขายาวเป็นสีชมพู มีแผ่นขนหูสีเทา ม่านตาสีส้มแดง ปากแหลมสีดำแกมเทา
นักวัยอ่อนมีปากสีค่อนข้างเหลืองที่ฐาน หัวสีน้ำตาลเทาหรือสีเนื้อปกคลุมด้วยขนนก[5]
หนังเปลือยสีแดงบริเวณหัวจะแดงสดใสในช่วงฤดูผสมพันธุ์
หนังบริเวณนี้จะหยาบเป็นตะปุ่มตะป่ำ มีขนสีดำตรงข้างแก้มและท้ายทอยบริเวณแคบๆ
ทั้งสองเพศมีลักษณะและสีคล้ายกัน เพศผู้ใหญ่กว่าเพศเมียเล็กน้อย
ไม่มีความแตกต่างทางเพศอื่นที่ชัดเจนอีก
นกกระเรียนไทยเพศผู้ในอินเดียมีขนาดสูงที่สุด คือประมาณ 200 ซม. ช่วงปีกยาว 250 ซม.
ทำให้นกกระเรียนไทยเป็นนกที่บินได้ที่สูงที่สุดในโลก ในชนิดย่อย
antigone มีน้ำหนัก 6.8–7.8 กก. ขณะที่ sharpii มีน้ำหนักประมาณ 8.4 กก.
โดยทั่วไปแล้วจะมีน้ำหนัก 5-12 กก. สูง 115-167 ซม.ช่วงปีกยาว 220-280 ซม.[6] นกจากประเทศออสเตรเลียจะมีขนาดเล็กกว่านกจากเขตทางเหนือ[7]
ในประเทศออสเตรเลีย นกกระเรียนไทยมักจะสับสนกับนกกระเรียนออสเตรเลีย
สีแดงบนหัวของนกกระเรียนออสเตรเลียจะมีแค่บนหัวไม่แผ่ลงมาถึงคอ[6]
การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย[แก้]
ในอดีต
นกกระเรียนไทยมีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างบนพื้นที่ราบลุ่มในประเทศอินเดียยาวตลอดแม่น้ำคงคา
ทางใต้ไปถึงแม่น้ำโคทาวารี (Godavari) ทางตะวันตกไปถึงชายฝั่งรัฐคุชราต
เขตธาร์พาร์คาร์ (Tharparkar) ของประเทศปากีสถาน[8] และทางตะวันออกถึงรัฐเบงกอลตะวันตกและรัฐอัสสัม
ไม่พบการขยายพันธุ์ในแคว้นปัญจาบมานานแล้ว
แม้ว่าจะพบบ้างประปรายในฝั่งอินเดียในฤดูหนาว
นกกระเรียนหาพบได้ยากและมีจำนวนน้อยมากในรัฐเบงกอลตะวันตกและรัฐอัสสัม[9] และไม่พบมานานแล้วในรัฐพิหาร
ในประเทศเนปาล
การกระจายพันธุ์จำกัดอยู่เพียงที่ราบลุ่มฝั่งตะวันตก
ประชากรส่วนมากอยู่ในเขตรูปันเทหี (Rupandehi)
กบิลพัสดุ์ (Kapilvastu) และนวัลปราสี (Nawalparasi)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น