ต้นประดู่
ประดู่อังสนา
หรือ ดู่ป่า (เหนือ) หรือ อะนอง หรือ ดู่ (อังกฤษ: Burma Padauk) เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-25
เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทาลำต้นเป็นพูไม่กลมแตกกิ่งก้านสาขากว้าง
มีเรือนยอดทึบแตกเป็นสะเก็ดร่องตื้นๆ
ใบเป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่งมีใบย่อยประกอบอยู่ประมาณ 6-12 ใบ
ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ
2-3 นิ้ว กว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ออกดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง
ผลมีขนเล็กๆปกคลุม ขนาดผลโตประมาณ 4-6 เซนติเมตร
การปลูกเลี้ยง[แก้]
ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง
ชอบดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิยมปลูกริมถนนเพราะกิ่งทอดลงห้อยย้อยสวยงาม
Á== สัญลักษณ์ ==
·
ดอกประดู่เป็นสัญลักษณ์ของกองทัพเรือไทย
·
ดอกประดู่เป็นสัญลักษณ์และต้นไม้ประจำ
โรงเรียนวัดป่าประดู่
·
ดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และ จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนต้นประดู่เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต
·
ดอกประดู่เป็นดอกไม้ประจำชาติพม่า
·
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำ
โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
·
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
·
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
·
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนสิงห์สมุทร
·
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนดรุณากาญจนบุรี
·
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
·
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์
·
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนเซนต์ราฟาแอล
·
ประดู่เป็นต้นไม้ประจำโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี)สมุทรปราการ
การใช้ประโยชน์[แก้]
·
ประดู่กิ่งอ่อนหรือประดู่บ้านสะสมแคดเมียมได้ 470 µg/g เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์[1]
·
ไม้ใช้ทำสิ่งปลูกสร้าง
เครื่องมือเครื่องใช้
·
เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง
ให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า แก่นให้สีแดงคล้ำสำหรับย้อมผ้า[2]
อ้างอิง[แก้]
1.
Jump up ↑ Suekhum, D., (2005). Phytoremediation
of Cadmium by Selected Leguminous Plants from Hydroponic
Culture. Thesis, Mahidol University.
2.
Jump up ↑ ประดู่
ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ITIS
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น