ทองคำ
ทองคำ (อังกฤษ: gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79
และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) จัดอยู่ในกลุ่มธาตุโลหะมีสกุลชนิดหนึ่ง
ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้
ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่
ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ
งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
คุณสมบัติ
มีความแวววาวอยู่เสมอ
ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดังนั้น
เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิม มีความอ่อนตัว ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด
ด้วยทองเพียงประมาณ 2 บาท เราสามารถยืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 8 กิโลเมตร
หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง 100 ตารางฟุต เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี
ทองคำเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี สะท้อนความร้อนได้ดี
ทองคำสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี
ได้มีการนำทองคำไปฉาบไว้ที่หน้ากากหมวกของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันรังสีอินฟราเรด
มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปี
เป็นความหมายแห่งความมั่งคั่ง จุดหลอมเหลว 1064 องศาเซลเซียส และจุดเดือด
2970 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีค่าที่มีความเหนียว
(Ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability)
คือจะยืดขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง
โดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1
ออนซ์สามารถดึงเป็นเส้นลวดยาวได้ถึง 80 กิโลเมตร ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะได้บางเกินกว่า
1/300,000 นิ้ว ส่วนความกว้างจะได้ถึง 9 ตารางเมตร
ทองคำบริสุทธิ์ไม่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี
จึงทนต่อการผุกร่อนและไม่เกิดสนิมกับอากาศ แต่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีบางชนิด เช่น คลอรีน ฟลูออรีน น้ำประสานทอง
คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบกับลักษณะภายนอกที่เป็นประกายจึงทำให้ทองคำเป็นที่หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานับพันปี
โดยนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับ
ทองคำได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับทองคำ
เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการซึ่งทำให้ทองคำโดดเด่น
และเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดในโลก คือ
1.
งดงามมันวาว (lustre) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาวก่อให้เกิดความงามอันเป็นอมตะ
ทองคำสามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่นๆ
ช่วยเพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง
2.
คงทน (durable) ทองคำไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป 3000
ปีก็ตาม
3.
หายาก (rarity) ทองเป็นแร่ที่หายาก กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์ (31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน
และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง
เป็นเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต
4.
นำกลับไปใช้ได้ (reuseable) ทองคำเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพราะมีความเหนียวและอ่อนนิ่มสามารถนำมาทำขึ้นรูปได้ง่าย
อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยการทำให้บริสุทธิ์ (purified) ด้วยการหลอมได้อีกโดยนับครั้งไม่ถ้วน
การเกิดของแร่ทองคำ
สรุปจากเอกสารของกรมทรัพยากรธรณี
ได้มีการแบ่งการเกิดของแร่ทองคำออกเป็น 2 แบบ ตามลักษณะที่พบในธรรมชาติได้ดังนี้
·
แบบปฐมภูมิ คือกระบวนการทางธรณีวิทยา
มีการผสมทางธรรมชาติจากน้ำแร่ร้อน ผสมผสานกับสารละลายพวกซิลิก้า
ทำให้เกิดการสะสมตัวของแร่ทองคำในหินต่างๆ เช่น หินอัคนี หินชั้น และหินแปร มีการพบการฝังตัวของแร่ทองคำในหิน
หรือสายแร่ที่แทรกอยู่ในหิน ซึ่งส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
·
แบบทุติยภูมิหรือลานแร่ คือการที่หินที่มีแร่ทองคำแบบปฐมภูมิได้มีการสึกกร่อน
และถูกน้ำพัดพาไปสะสมตัวในที่แห่งใหม่ เช่น ตามเชิงเขา ลำห้วย
หรือในตะกอนกรวดทรายในลำน้ำ
แหล่งแร่ทองคำปฐมภูมิในไทย
·
แหล่งโต๊ะโมะ จ.นราธิวาส
·
แหล่งเขาสามสิบ จ.สระแก้ว
·
แหล่งชาตรี (เขาโป่ง) จ.พิจิตร - จ.เพชรบูรณ์
·
แหล่งดอยตุง (บ้านผาฮี้) จ.เชียงราย
·
แหล่งเขาพนมพา จ.พิจิตร
แหล่งแร่ทองคำทุติยภูมิในไทย
·
แหล่งบ้านป่าร่อน จ.ประจวบคีรีขันธ์
·
แหล่งบ้านนาล้อม จ.ปราจีนบุรี
·
แหล่งบ้านทุ่งฮั้ว จ.ลำปาง
·
แหล่งในแม่น้ำโขง จ.เลย - จ.หนองคาย
·
แหล่งบ้านผาช้างมูบ จ.พะเยา
การใช้ประโยชน์
ด้านอวกาศ
ในทางอวกาศได้มีการนำทองคำมาใช้เป็นชุดนักบินอวกาศและแคปซูล
เพื่อป้องกันไม่ให้นักบินอวกาศกระทบกับรังสีในอวกาศที่มีพลังงานสูง
นอกจากนี้ยังมีการใช้ทองคำบริสุทธิ์เคลือบกับเครื่องยนต์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์
หมวกเหล็ก เกราะบังหน้า และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในอวกาศ เนื่องจากทองคำที่มีความหนา
0.000006 นิ้ว จะมีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ทำลาย
หรือลดประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้
ด้านทันตกรรม
มีการใช้ทองคำเพื่อการครอบฟัน
เชื่อมฟัน หรือการเลี่ยมทอง และยังมีการใช้ในการผลิตฟันปลอมด้วย เนื่องจากทองคำมีความคงทนต่อการกัดกร่อน
การหมองคล้ำ และยังมีความแข็งแรงอีกด้วย โดยจะใช้ทองคำผสมกับธาตุอื่น เช่นแพลทินัม
ด้านอิเล็กทรอนิกส์
มีการนำทองคำมาใช้เป็นวัสดุที่ทำหน้าที่สัมผัสในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
เช่น เครื่องคิดเลข โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ
เนื่องจากทองคำมีค่าการนำไฟฟ้าสูง และมีความคงทนต่อการกัดกร่อน
จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานของเครื่องไฟฟ้าเหล่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น