ควายป่า
ควายป่า (อังกฤษ: Wild water buffalo; มราฐี: पाणम्हैस) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bubalus arnee มีลักษณะคล้ายควายบ้าน (B. bubalis) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน
แต่ควายป่าแต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก
สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4
สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี (V) ควายป่ามีเขาทั้ง
2 เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง
ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม
ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตร
ความยาวหัวและลำตัว 2.40 เมตร - 2.80 เมตร ความยาวหาง 60 - 85 เซนติเมตร
น้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม
มีการกระจายพันธุ์จากประเทศเนปาลและอินเดีย
ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยปัจจุบัน เหลืออยู่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานีเท่านั้น
โดยจำนวนประชากรที่มีมากที่สุดในธรรมชาติในปัจจุบัน คือ ที่อุทยานแห่งชาติกาจิรังคา ในรัฐอัสสัม ของอินเดีย ประมาณ 1,700 ตัว[2]
หากินในเวลาเช้าและเวลาเย็น อาหารได้แก่
พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว
ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปลักโคลนตอนช่วงกลางวัน
ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราว ๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 10 เดือน
ควายป่ามีนิสัยดุร้ายโดยเฉพาะตัวผู้และตัวเมียที่มีลูกอ่อน
เมื่อพบศัตรูจะตีวงเข้าป้องกันลูกอ่อนเอาไว้ มีอายุยืนประมาณ 20 - 25 ปี
สถานภาพในประเทศไทย
ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
พุทธศักราช 2535[3]
ลักษณะ
ควายป่ามีขนาดใหญ่และหนักกว่าควายบ้าน
มีน้ำหนักระหว่าง 700 - 1200 กิโลกรัม ความยาวหัวและลำตัวยาว 240 - 300 เซนติเมตร
หากยาว 60 - 100 เซนติเมตร สูงจรดไหล่ 150 - 190 เซนติเมตร มีเขาทั้งสองเพศ
เขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม
กว้างได้ถึง 2 เมตร ใหญ่กว่าสัตว์ชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน ผิวหนังมีสีดำหรือเทา
มีขนหยาบหร็อมแหร็มจากสะโพกไปยังหัว มีปอยขนบนหน้าผาก และหู ปลายหางเป็นพวง
กีบเท้ามีขนาดใหญ่และกางออก
อ้างอิง
2.
Jump up ↑ สุดหล้าฟ้าเขียว, รายการโทรทัศน์: เสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ทางช่อง 3 โดย ปองพล อดิเรกสาร
3.
Jump up ↑
กองทุนสัตว์ป่าโลก. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : ไซรัสการพิมพ์, 2543. 256 หน้า. ISBN 974-87081-5-2
4.
Jump up ↑ Nowak, R. M. (1999). Walker's Mammals of the World. Volume 1. The Johns Hopkins
University Press, Baltimore, USA and London, UK
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น