ต้นตะเคียนทอง
ตะเคียนทอง (อังกฤษ: Iron Wood)
เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ไม้ตะเคียน สามารถพบในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศกัมพูชา, ประเทศอินเดีย, ประเทศลาว, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศพม่า, ประเทศไทย
และ ประเทศเวียดนาม
ตะเคียนทองยังมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกดังนี้:
กะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) แคน (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เลย) จะเคียน (เหนือ) จืองา (มลายู นราธิวาส)
จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ตะเคียน ตะเคียนใหญ่ (กลาง) ตะเคียนทอง (กลาง,ประจวบคีรีขันธ์) ไพร (ละว้า เชียงใหม่) [1]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ใบของตะเคียนทอง
ตะเคียนทองเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่
สูง 20-40 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบกลมหรือรูปเจดีย์ต่ำ
เปลือกหนาสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลแดง
ใบรูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปดาบ กว้าง 3-10 ซม. ยาว 6-14 ซม. เนื้อใบค่อนข้องหนา
ปลายใบเรียว โคนใบบนป้านและเบี้ยว หลังใบที่ตุ่มเกลี้ยงๆ อยู่ตามง่ามแขนงใบ[2] เส้นแขนงใบมี 9-13 คู่ ปลายโค้ง แต่ไม่จรดกัน ดอกเล็ก
ออกเป็นช่อยาว สีขาว ตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ
โดยเชื่อมติดกัน มีกลิ่นหอม ผล กลม หรือรูปไข่เกลี้ยง ปลายมน
เป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 ซม. ยาว 1 ซม. ปีกยาว 1 คู่
รูปใบพาย
การกระจายพันธุ์
ตะเคียนทองมีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติทางตอนใต้
และตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย ในแถบประเทศไทย พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา
มาเลเซีย บังกลาเทศ และอินเดีย พบในป่าดิบชื้น
อ้างอิง
1.
Jump
up ↑ สำนักงานหอพรรณไม้.
ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร :
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ.
2549
2.
Jump
up ↑ ตะเคียนทอง ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ
·
Ashton, P. 1998. Hopea
odorata. 2006 IUCN
Red List of Threatened Species. Downloaded on 21 August 2007.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น