อัญมณี
จากวิกิพีเดีย
สารานุกรมเสรี
อัญมณี คือ
มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน
หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ โดยจะประกอบขึ้นจาก สาร อินทรีย์ หรือ
อนินทรีย์ก็ได้ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย
แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน
หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่างๆ
ความเชื่อไทย[แก้]
ในสมัยโบราณว่า ความรู้ ความเชื่อถือ
และการใช้อัญมณีของคนไทย เริ่มมีมาแต่สมัยใดยังไม่มีหลักฐานกำหนดแน่ชัด เราอาจ
ทราบเรื่องอัญมณีของไทยในอดีตได้จากวรรณคดีไทย บางเรื่อง บางตอน เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คนไทยเริ่มรู้จักและใช้อัญมณีไม่กี่ชนิด
มีการจัดแบ่งอัญมณีออกเป็น ๙ ชนิด เรียกว่า นพรัตน์ หรือนวรัตน์
หรือแก้วเก้าประการ เป็นต้น ในตำรานพรัตน์มีคำกลอนที่มีอิทธิพล
ทำให้คนไทยไม่น้อยรู้จักสนใจและนิยมนับถืออัญมณีว่าเป็นสิริมงคล
แล้วก็ยังใช้เป็นหลักทรัพย์ที่ถือเป็นมรดกสืบทอดแก่ทายาทในวงศ์ตระกูล
เป็นของกำนัลตอบแทนผู้มีน้ำใจช่วยเหลือยามที่เคยตกทุกข์ได้ยากเป็นของสำหรับหมั้นหมาย
เป็นต้น
หินสีชนิดต่างๆ[แก้]
·
อำพัน
·
อเมทริน
·
แอมะซอไนต์
·
อเมทิสต์
·
ไข่มุก
·
อาเกต
·
บลูเลซอาเกต
·
มอสอาเกต
·
อะเลกซานไดรต์
อัญมณีประจำวันเกิด[แก้]
·
วันอาทิตย์ ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น ทับทิม เพชรสีแดง โกเมน
·
วันจันทร์ ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น มุกดา บุษราคัม อำพัน ไข่มุกสีทอง เพชรสีเหลือง
·
วันอังคาร ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น เพชรสีชมพู ปะการัง ไข่มุกสีชมพู และโรส ควอตซ์
·
วันพุธ ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น หยก มรกต กรีน โกเมนสีเขียว
·
วันพฤหัสบดี ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น โกเมนสีส้ม คาร์เนเลียน ไพฑูรย์
·
วันศุกร์ ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น ไพลิน บลูโทปาซ
·
วันเสาร์ ถูกโฉลกกับอัญมณีเช่น หยกดำ นิล โอนิกซ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น