วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แร่อะโลหะ

แร่อะโลหะ



                          แร่อโลหะ   หมายถึง    แร่ที่มีลักษณะเปราะ แตก หรือหักง่าย โปร่งแสง ยอมให้แสงหรือรังสีผ่านได้ ไม่เป็นตัวนำความร้อนหรือไฟฟ้า เมื่อเคาะไม่มีเสียงดังกังวาน แร่อโลหะเป็นกลุ่มธาตุที่มีความสำคัญในการทำอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมทำปุ๋ย การก่อสร้าง เคมี เครื่องปั้นดินเผา และทำสี เป็นต้น มีหลายชนิด เช่น หิน ทราย ยิปซัม แบไรต์ ดินขาว เพชรพลอย เกลือ กำมะถัน ปูน เฟลสปาร์ ซิลิกา แคลเซียม ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม ฯลฯ  เช่น
           1.   หินทราย  มีทรายเป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่  และถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านการก่อสร้าง  เช่น  ทำถนน   สร้างอาคาร  และสิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นต้น
            2.  แร่ซิลิกา   เป็นอัญรูปหนึ่งของธาตุซิลิกอน  พบมากที่สุดในสภาพของผิวโลกที่เป็นทราย  เป็นผลึกมีสีขาว  สีขาวขุ่น   สีน้ำตาลใส  ต้นกำเนิดของแร่จะเกิดปนอยู่กับแร่อื่นๆ ในหินอัคนี เช่น  หินแกรนิต   ทรายซิลิกาสะสมอยู่มากบริเวณชายฝั่งทะเล  ทะเลทราย  ลุ่มแม่น้ำ   เป็นต้น
         3. แร่เฟลด์ปาร์   มีธาตุที่เป็นส่วนประกอบคือ  อะลูมิเนียม  โพแทสเซียม  ซิลิกอน   โซเดียม และแคลเซียม   เป็นองค์ประกอบของหินพบอยู่ในหินอัคนี  และถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ เช่น  สุขถัณฑ์   เครื่องเคลือบดินเผา   กระเบื้องเคลือบ  เป็น
4. แร่กำมะถัน  มีลักษณะเป็นก้อนสีเหลือง   สีน้ำตาลและสีเขียวมีเนื้อละเอียดเนียนและเรียบมีความวาวเหมือนขี้ผึ้ง  พบในบริเวณที่มีภูเขาไฟ  น้ำพุร้อน  แหล่งน้ำมันดิบกำมะถันนำมาใช้ประโยชน์  คือ  ทำดินปืน   ไม้ขีดไฟ   ปุ๋ย   ผลิตกรดชนิดต่างๆ   ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี  เป็นต้น
         5.  เกลือหรือแร่หินเกลือ ( Halite ) เกิดจากการตกตะกอนสะสมจากน้ำทะเลเกิดในบริเวณที่ลุ่มน้ำเค็มหรือที่ติดต่อกับทะเล หรือที่ที่เคยเป็นทะเลมาก่อนดังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกลือธรรมชาติมีโซเดียมร้อยละ 39.3 และธาตุคลอรีนร้อยละ 60.7 แต่อาจมีแร่อื่นเจือปนอยู่บ้าง คือ แคลเซียมซัลเฟต แคลเซียมคาร์บอเนต และแมกนีเซียมคลอไรด์ สำหรับเกลือหินพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย อาทิ ชัยภูมิ นครราชสีมา สกลนคร มหาสารคาม อุบลราชธานี อุดรธานี ในต่างประเทศพบมากที่สุดในออสเตรเลีย เยอรมัน โปแลนด์ สเปน สหภาพโซเวียต เกลือนอกจากจะใช้ในชีวิตประจำวันแล้วยังใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น เป็นวัตถุดิบในการผลิตเคมีภัณฑ์และกรดต่างๆ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแอช ฟอกและย้อมหนัง ทำปุ๋ย ทำสบู่ ถลุงแร่ เก็บรักษา
         6.  แร่ไมกา   เป็นแร่ประกอบหินที่สำคัญชนิดหนึ่ง   พบในหินอัคนี   เช่นในหินแกรนิต  หินแปรประเภทหินไนส์  และแร่ซิสไมกา  เป็นต้น
         7. แร่แคลเซียม   แคลเซียมในธรรมชาติเกิดเป็นสารประกอบมากมาย   หินปูนก็เป็นสารประกอบของแคลเซียมอีกชนิดหนึ่ง  มีชื่อทางเคมีว่า   แคลเซียมคาร์บอเนต  ซึ่งแคลเซียมมีแหล่งที่มาอยู่หลายแหล่ง  เช่น  แนวภูเขาหินปูน   หรือจากชั้นของหินปูนที่สะสมตามธรรมชาติ
         8. แร่ฟลูออไรต์   มีเนื้อละเอียดเหมือนน้ำตาลทรายหรือเหมือนแร่ควอตซ์  มีลักษณะโปร่งใสหรือกึ่งโปร่งแสง
       9. ดินขาวหรือเกาลีน    มีลักษณะคล้ายดินเหนียว  มีสีขาว  เกิดจากการผุสลายแปรสภาพของแร่เฟลด์สปาร์  หรือ เกิดจากการผุสลายของหินแกรนิต  ดินขาวถูกนำมาใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาทุกชนิด
      10. ยิปซัม ( Gypsum )  เป็นแร่ที่ส่วนมากมีสีขาว เทา และอาจมีสีน้ำตาลแดงและเหลืองปนอยู่บ้าง ค่อนข้างเปราะ มีประกายเหมือนไหม มีการสะสมตัวเป็นชั้นๆ เหมือนหินเกลือ ประโยชน์ของแร่นี้คือ ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนพลาสเตอร์ ทำแป้งนวล ชอล์ก กระดาษ ปั้นรูปหรืออุดฟัน กระเบื้องและปุ๋ย ในประเทศไทยพบที่จังหวัดพิจิตร ลำปาง นครสวรรค์ เลย อุตรดิตถ์ นครราชสีมา กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและกระบี่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น